วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ปรัชญาแนวพุทธ

ในการเรียนวิชาศึกษาศาสตร์นั้น ผู้เรียนคงต้องเรียนวิชาปรัชญาการศึกษากันทุกคน มากบ้าง น้อยบ้าง แต่เท่าที่ผ่านๆ มาปรัชญาการศึกษาที่เรียนกันนั้น ส่วนมากเป็นปรัชญาการศึกษาของประเทศตะวันตกทั้งสิ้นเช่น ปรัชญาการศึกษาตามแนวจิตนิยม (Idealism) ปรัชญาการศึกษาตามแนวสัจนิยม (Realism) ปรัชญาการศึกษาตามแนวพิสูจน์นิยม (Experimentalism) เป็นต้น
ส่วนปรัชญาการศึกษาตามแนวของลัทธิปรัชญาที่เป็นของไทยเราเอง หรือที่ตั้งอยู่บนรากฐานของปัญญาอันเป็นของสังคมของเราเอง ยังไม่ค่อยจะมี
สำหรับความรู้ หรือปรัชญา หรือปัญญาอันเป็นของสังคมไทยเราเองนั้น ก็ได้แก่ พุทธศาสนาหรือพุทธธรรมนั่นเอง ดังนั้นจึงเป็นการสมควรยิ่งที่จะได้พยายามสร้างปรัชญาการศึกษาตามแนวพุทธธรรม (Buddhistic Philosophy of Education) ขึ้นไว้บ้าง เพื่อว่าเมื่อได้ศึกษาปรัชญาการศึกษาของประเทศอื่นแล้ว ก็จะยังมีปรัชญาการศึกษา ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยของเราเอง ให้ไว้ศึกษาควบคู่กันไปบ้าง
การเสนอปรัชญาการศึกษานั้นในปัจจุบันนิยมเสนอกันสามวิธีคือ
1. วิธีปทัสถาน (Normative) อันได้แก่การเสนอความคิดใหม่ตามวิธีการที่มีอยู่เดิมแล้ว ไม่ต้องไปคิด วิธีการขึ้นใหม่อีก
2. วิธีคาดเก็ง (Speculative) อันได้แก่การเสนอแนะความคิดหรือคาดคะเนขึ้นไว้ เนื่องจากว่าผู้เสนอนั้นได้มีประสบการณ์อยู่มาเพียงพอจนอาจมีความคิดที่จะเสนอแนะได้
3. วิธีวิเคราะห์ (Analytical) อันได้แก่การเสนอเชิงวิเคราะห์เพื่อทำให้ความคิดบางประการได้กระจ่างแจ้งขึ้น
สำหรับการประยุกต์หรือสร้างปรัชญาการศึกษาตามแนวพุทธธรรม ณ ที่นี้จะได้ใช้วิธีปทัสถาน
2. พุทธธรรมบางประการที่นำมาใช้
พุทธธรรมบางประการที่นำมาใช้ หรือนำมาประยุกต์ให้เกิดเป็นปรัชญาการศึกษาตามแนวพุทธธรรมขึ้นนั้น มีดังต่อไปนี้
ขันธ์ 5 : รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (อันเป็นลักษณะของมนุษย์ทั่วๆ ไป)อกุศลมูล: โลภ โกรธ หลง (อันเป็นลักษณะของมุนษย์ทั่วๆ ไป)นิพพาน : ชีวิตที่ดีสูงสุด (Summum Bonum) การดับสิ้นแห่งความทุกข์ การดับสิ้นแห่งอกุศลมูล อันเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิตในที่สุดมรรคมีองค์: (หรือที่ย่อลงเป็น ไตรสิกขา 3 ) วิถีหรือแนวทางในการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การพ้นหรือดับสิ้นแห่งทุกข์
อริยสัจ 4 : ความจริงแห่งชีวิต อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคกิจในอริยสัจ 4 หรือ กิจญาณ : ได้แก่ สิ่งที่จะต้องกระทำหรือกิจที่จะต้องกระทำเกี่ยวกับอริยสัจ 4


3. แนวคิดบางประการในวิชาปรัชญาการศึกษาที่นำมาใช้ แนวคิดบางประการในวิชาปรัชญาการศึกษาที่นำมาใช้ หรือนำมาคิดในการประยุกต์พุทธรรมเพื่อให้เกิดเป็นปรัชญาการศึกษาตามแนวพุทธธรรมนั้น มีดังต่อไปนี้

การศึกษา คือการงอกงามหรือการพัฒนา หรือคือการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่ผู้เรียน เพื่อว่าผู้เรียนจะได้เจริญงอกงามหรือพัฒนาขึ้นตามความมุ่งหมาย
บรูณาการ คือจุดหมายปลายทางของการศึกษา (บูรณาการหรือ integration) คือสภาพที่ปัญหาต่างๆ ในชีวิตได้แก้ตกไปจนหมดสิ้น หรือการที่ปัญหาต่างๆ ในชีวิตได้แก่ตกไปเกือบหมดสิ้น)
อันตรกิริยา (interaction) คือการปะทะระหว่างตัวเราและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการควบคุมอัตรกิริยา ให้อยู่ในวิถีทางที่ดีอยู่เสมอ
วิธีการคิดแบบแก้ปัญหา หรือวิธีการคิดสะท้อน เป็นวิธีการของการศึกษา (Reflective thinking is the method of education.)
การแก้ปัญหา (Problem-Solving) หรือการทดลอง คือวิธีการที่นำมาซึ่งความจริง หรือความรู้

4. ปรัชญาการศึกษาตามแนวพุทธธรรม คำอธิบายปรัชญาการศึกษาตามแนวพุทธธรรมนี้ มีอยู่ 4 หัวข้อได้แก่ ความหมายของคำว่า การศึกษา ความมุ่งหมายของการศึกษา แนวนโยบายพื้นฐานของการศึกษา และวิธีการของการศึกษา แต่จะขออธิบายเพียง ข้อที่ 1 คือ ความหมายของคำว่า “การศึกษา” เท่านั้น ส่วนข้ออื่นๆ อาจเพ่งพิจารณาเอาได้จากตารางคำอธิบาย 2 ตาราง ซึ่งอยู่ในหน้าถัดไป
(ยังมีค่อ) คลิก URL
http://www.uploadtoday.com/download/?341977&A=734430
[URL=http://www.uploadtoday.com/download/?341977&A=734430][IMG]http://www.uploadtoday.com/images/partner/download_file.jpeg[/IMG][/URL]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น