วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปรัชญาการศึกษา

ปรัชญาการศึกษาและแนวคิด
Essentialism
มาจากปรัชญาพื้นฐาน 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายจิตนิยมมีความเชื่อว่าจิตเป็นส่วนสำคัญที่สุดในชีวิตคนและเห็นความจริงได้ก็ด้วยความคิด
มุ่งพัฒนาความสามารถที่มนุษย์มีอยู่แล้ว การศึกษาควรมุ่งที่จะถ่ายทอดความรู้ที่สั่งสมกันมา
ถายทอดมรดกทางวัฒนธรรม เพื่อสังคมมีความเฉลียวฉลาด มุ่งพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์
มีบทบาทในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสังคม
ยึดเนื้อหาที่เป็นวิชาพื้นฐาน เป็นแบบแผนเดียวกันทั่วประเทศ โดยจัดเรียงลำดับตามความยากง่าย
ขึ้นอยู่กับครูเป็นสำคัญ ครูเป็นผู้อธิบายให้นักเรียนเข้าใจ โดยเน้นการสอนแบบบรรยายเป็นหลัก
เป็นบุคคลที่มีความสำคัญ จะทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ครูเป็นผู้กำหนดกิจกรรมในห้องเรียน
เป็นผู้สืบทอดค่านิยม และถ่ายทอดไปยังคนรุ่นหลังและเชื่อฟังคำสั่งสอนของครู
นรันตรนิยม
Perennialism
เน้นในเรื่องเหตุผล และสติปัญญา เป็นการนำเอาแบบอย่างที่ดีในอดีตมาใช้ในปัจจุบัน
สิ่งสำคัญที่สุดของธรรมชาติมนุษย์ คือ ความสามารถในการใช้เหตุผล
สร้างคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์ เพราะมนุษย์มีพลังธรรมชาติอยู่ในตัวคือสติปัญญาเพื่อให้มนุษย์เป็นคนดีตลอดไปไม่เปลี่ยนแปลง
เน้นที่ตัวบุคคลเป็นหลักใหญ่ เพราะพัฒนาในตัวบุคคลแล้วก็สามารถทำให้สังคมนั้นดีขึ้นด้วย
เน้นวิชาทางศิลปะศาสตร์และศิลปะการคำนวณ
ใช้วิธีท่องจำและฝึกให้ใช้ความคิด หาเหตุผลโดยอาศัยหลักวิชาการ
เป็นผู้มีเหตุผลและมีชีวิต มีวิญญาณเป็นผู้ใฝ่รู้อยู่เสมอ เป็นผู้ดูแลรักษาระเบียบวินัย
มุ่งพัฒนาเป็นรายบุคคลฝึกฝนผู้เรียนทุกคนมีโอกาสเรียนเท่าเทียมกัน ฝึกฝนบ่อย ๆ หรือทำซ้ำ ๆ
พิพัฒนนิยม
Progressivism
การแสวงหาความรู้ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ มีการปรับปรุงการศึกษาอยู่เสมอ
การศึกษาคือชีวิต เรียนรู้ในสิ่งที่เหมาะแก่วัยของเขา และหาทางปรับตัวให้เข้ากับภาวะที่เป็นจริงในปัจจุบัน
ไม่มีจุดมุ่งหมายที่ตายตัว เพราะชีวิตเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก
จัดประสบการณ์ให้เหมาะกับสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน
เรียนจากประสบการณ์ในชีวิตจริง เน้นวิชาเสริมสร้างประสบการณ์ทางสังคม ชีวิตประจำวันวัน
ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนมีบทบาทมากที่สุด ใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์
ไม่เป็นผู้ออกคำสั่ง ทำหน้าที่ในการแนะแนวทาง จัดประสบการณ์ที่เหมาะสมแก่ผู้เรียน
ให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนมาก ผู้เรียนจะได้ประสบการณ์ด้วยการลงมือกระทำด้วยตนเอง
ปฏิรูปนิยม
Reconstructionism
เน้นความสำคัญของการพัฒนาผู้เรียน เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาให้สังคมเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
เน้นให้ผู้เรียนเข้าใจและมุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมอุดมคติขึ้นมาให้เหมาะสมกับพื้นฐานทางวัฒนธรรมและทางเศรษฐกิจ
สร้างสรรค์ระบบสังคมขึ้นมาใหม่และส่งเสริมการพัฒนาสังคม
ร่วมแก้ปัญหาของสังคมและสร้างสังคมใหม่ที่เหมาะสมดีงาม
เน้นวิชาสังคมศึกษา การดำรงชีวิตในสังคม สภาพเศรษฐกิจและการเมือง
ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองและลงมือกระทำเอง
รวบรวม สรุป วิเคราะห์ปัญหาของสังคมแล้วเสนอแนวทางให้ผู้เรียนแก้ปัญหาของสังคม
มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาทางสังคมและความยุติธรรม เรียนรู้เทคนิค วิธีการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาทางสังคม

ปรัชญาการศึกษา

ปรัชญาการศึกษาและแนวคิด
Essentialism
มาจากปรัชญาพื้นฐาน 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายจิตนิยมมีความเชื่อว่าจิตเป็นส่วนสำคัญที่สุดในชีวิตคนและเห็นความจริงได้ก็ด้วยความคิด
มุ่งพัฒนาความสามารถที่มนุษย์มีอยู่แล้ว การศึกษาควรมุ่งที่จะถ่ายทอดความรู้ที่สั่งสมกันมา
ถายทอดมรดกทางวัฒนธรรม เพื่อสังคมมีความเฉลียวฉลาด มุ่งพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์
มีบทบาทในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสังคม
ยึดเนื้อหาที่เป็นวิชาพื้นฐาน เป็นแบบแผนเดียวกันทั่วประเทศ โดยจัดเรียงลำดับตามความยากง่าย
ขึ้นอยู่กับครูเป็นสำคัญ ครูเป็นผู้อธิบายให้นักเรียนเข้าใจ โดยเน้นการสอนแบบบรรยายเป็นหลัก
เป็นบุคคลที่มีความสำคัญ จะทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ครูเป็นผู้กำหนดกิจกรรมในห้องเรียน
เป็นผู้สืบทอดค่านิยม และถ่ายทอดไปยังคนรุ่นหลังและเชื่อฟังคำสั่งสอนของครู
นรันตรนิยม
Perennialism
เน้นในเรื่องเหตุผล และสติปัญญา เป็นการนำเอาแบบอย่างที่ดีในอดีตมาใช้ในปัจจุบัน
สิ่งสำคัญที่สุดของธรรมชาติมนุษย์ คือ ความสามารถในการใช้เหตุผล
สร้างคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์ เพราะมนุษย์มีพลังธรรมชาติอยู่ในตัวคือสติปัญญาเพื่อให้มนุษย์เป็นคนดีตลอดไปไม่เปลี่ยนแปลง
เน้นที่ตัวบุคคลเป็นหลักใหญ่ เพราะพัฒนาในตัวบุคคลแล้วก็สามารถทำให้สังคมนั้นดีขึ้นด้วย
เน้นวิชาทางศิลปะศาสตร์และศิลปะการคำนวณ
ใช้วิธีท่องจำและฝึกให้ใช้ความคิด หาเหตุผลโดยอาศัยหลักวิชาการ
เป็นผู้มีเหตุผลและมีชีวิต มีวิญญาณเป็นผู้ใฝ่รู้อยู่เสมอ เป็นผู้ดูแลรักษาระเบียบวินัย
มุ่งพัฒนาเป็นรายบุคคลฝึกฝนผู้เรียนทุกคนมีโอกาสเรียนเท่าเทียมกัน ฝึกฝนบ่อย ๆ หรือทำซ้ำ ๆ
พิพัฒนนิยม
Progressivism
การแสวงหาความรู้ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ มีการปรับปรุงการศึกษาอยู่เสมอ
การศึกษาคือชีวิต เรียนรู้ในสิ่งที่เหมาะแก่วัยของเขา และหาทางปรับตัวให้เข้ากับภาวะที่เป็นจริงในปัจจุบัน
ไม่มีจุดมุ่งหมายที่ตายตัว เพราะชีวิตเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก
จัดประสบการณ์ให้เหมาะกับสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน
เรียนจากประสบการณ์ในชีวิตจริง เน้นวิชาเสริมสร้างประสบการณ์ทางสังคม ชีวิตประจำวันวัน
ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนมีบทบาทมากที่สุด ใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์
ไม่เป็นผู้ออกคำสั่ง ทำหน้าที่ในการแนะแนวทาง จัดประสบการณ์ที่เหมาะสมแก่ผู้เรียน
ให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนมาก ผู้เรียนจะได้ประสบการณ์ด้วยการลงมือกระทำด้วยตนเอง
ปฏิรูปนิยม
Reconstructionism
เน้นความสำคัญของการพัฒนาผู้เรียน เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาให้สังคมเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
เน้นให้ผู้เรียนเข้าใจและมุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมอุดมคติขึ้นมาให้เหมาะสมกับพื้นฐานทางวัฒนธรรมและทางเศรษฐกิจ
สร้างสรรค์ระบบสังคมขึ้นมาใหม่และส่งเสริมการพัฒนาสังคม
ร่วมแก้ปัญหาของสังคมและสร้างสังคมใหม่ที่เหมาะสมดีงาม
เน้นวิชาสังคมศึกษา การดำรงชีวิตในสังคม สภาพเศรษฐกิจและการเมือง
ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองและลงมือกระทำเอง
รวบรวม สรุป วิเคราะห์ปัญหาของสังคมแล้วเสนอแนวทางให้ผู้เรียนแก้ปัญหาของสังคม
มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาทางสังคมและความยุติธรรม เรียนรู้เทคนิค วิธีการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาทางสังคม

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการเรียนรู้

ทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism ) ของ ศาสตราจารย์ Seymour Papert แห่ง Media Lab, Massachusetts Institute of Technology, สหรัฐอเมริกา
ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในสภาพแวดล้อมการดำรงชีวิตได้ด้วยตนเอง ด้วยการนำเสนอเพื่อสร้างประสบการณ์ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ ที่สามารถนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ ทำให้ผู้เรียนเรียนได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น และเปลี่ยนกรอบความคิดของครูจากเดิม ซึ่งเน้นการสอนไปเป็นการให้อิสระแก่ผู้เรียน ได้ร่วมเรียนรู้เป็นอิสระในการเรียนโดยพึ่งพาตนเอง
สาระสำคัญของทฤษฎีแห่งการสร้างสรรด้วยปัญญา (Constructionism )
ผู้เรียนเป็นฝ่ายสร้างความรู้ขึ้นด้วยตนเอง มิใช่ได้มาจากครูและในการสร้างความรู้นั้น ผู้เรียนจะต้องลงมือสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา เช่น การสร้างสิ่งจำลอง การสร้างสิ่งที่จับต้องสัมผัสได้ ทำให้ผู้อื่นมองเห็นได้ จะมีผลทำให้ผู้เรียนต้องใช้ความคิด มีความกระตือรือร้น มีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง อย่างเพื่อเกิดการสร้างสรรค์ความคิด
หลักการสำคัญ
การเชื่อมโยงสิ่งที่รู้แล้วกับสิ่งที่กำลังเรียน
การให้โอกาสผู้เรียนเป็นผู้ริเริ่มทำโครงการที่ตนเองสนใจ การสนับสนุนอย่างพอเพียงและเหมาะสมจากครูซึ่งได้รับการฝึกฝนให้มีความเข้าใจกระบวนการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง
เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิด นำเสนอผลการวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ของตนเอง
ให้เวลาทำโครงการอย่างต่อเนื่อง
การแสดงความคิดและผลงานของตนเองให้คนอื่นๆ รับทราบและร่วมพิจารณาให้ข้อเสนอแนะนั้น เป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และการยอมรับในความแตกต่างทางความคิด และผลงานปรากฎอยู่ และได้รับการสนับสนุนให้ทำอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผู้เรียนแต่ละคนก็จะมีโอกาสพัฒนาความสามารถในผลสำเร็จของตนเอง
การเรียนรู้ตามทฤษฎีสร้างสรรด้วยปัญญาเริ่มใช้ในประเทศไทยอย่างจริงจังนั้นเริ่มแต่ปี พ.ศ. 2539 โดยมูลนิธิศึกษาพัฒน์ได้พัฒนาโครงการนำร่องคือ Lighthouse Project เพื่อแสดงให้เห็นว่าการจัดการศึกษาที่เป็นทางเลือกใหม่สำหรับพัฒนาคนไทยให้เป็นนักคิด นักสำรวจทดลอง และใช้เทคโนโลยีเพื่อแสดงความคิดและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว

ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่ เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ทางจิตวิทยาอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theory) ทฤษฎีในกลุ่มนี้ อธิบายว่า การเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ เป็นการสร้างความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ทฤษฎีที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้วางเงื่อนไขแบบคลาสสิก หรือแบบสิ่งเร้าและทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive theory) ทฤษฎี ในกลุ่มนี้อธิบายว่า การเรียนรู้เป็นผลของกระบวนการคิด ความเข้าใจ การรับรู้สิ่งเร้าที่มากระตุ้น ผสมผสานกับประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาของบุคคล ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ซึ่งการผสมผสานระหว่างประสบการณ์ที่ได้รับในปัจจุบันกับประสบการณ์ในอดีต จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทางปัญญาเข้ามามีอิทธิพลในการเรียนรู้ด้วย ทฤษฎีกลุ่มนี้จึงเน้นกระบวนการทางปัญญา (Cognitive Process) มากกว่าการวางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดพฤติกรรม ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคม การเรียนรู้แบบการหยั่งรู้ เป็นต้น
ความแตกต่างระหว่างทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญาและทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา ผู้เรียนนั้นสามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการเรียนด้วยตัวของตนเองโดยมีอุปกรณ์ต่างๆเป็นองค์ประกอบในการเรียน เช่น คอมพิวเตอร์ โดยผู้เรียนนั้นมีอิสระในการศึกษา โดยผู้เรียนนั้นเป็นผู้สร้างความรู้ไม่ใช่ครูเป็นผู้สร้างความรู้ให้แก่ผู้เรียน แต่ทฤษฏีการเรียนรู้นั้นจะเกิดจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอูปแบบใดก็ได้ โดยการสร้งสร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียนผู้สอนจะต้องเป็นผู้กำหนดและพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน


การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom
(Bloom's Taxonomy)
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
ความเข้าใจ (Comprehend)
การประยุกต์ (Application)
การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
การประเมินค่า ( Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด
ความแตกต่างระหว่างทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญาและทฤษฎีการเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom
ทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา ผู้เรียนนั้นสามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการเรียนด้วยตัวของตนเองโดยมีอุปกรณ์ต่างๆเป็นองค์ประกอบในการเรียน เช่น คอมพิวเตอร์ โดยผู้เรียนนั้นมีอิสระในการศึกษา โดยผู้เรียนนั้นเป็นผู้สร้างความรู้ไม่ใช่ครูเป็นผู้สร้างความรู้ให้แก่ผู้เรียนส่วนทฤษฏีการเรียนรู้ของ Bloom สามารถแบ่งการเรียนรู้ออกเป็นระดับ โดยมากเกิดจากความจำ การเข้าใจ การประยุกต์ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า


การเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์ ( Mayor)
ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ความจำเป็นเป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียน เงื่อนไข พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้ โดยแบ่งออกเป็นย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน มาตรฐานพฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์ (Bruner) ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวมความต่อเนื่อง (continuity)
ความแตกต่างระหว่างทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญาและทฤษฎีการเรียนรู้ตามทฤษฎีของ (Mayor)
ทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา ผู้เรียนนั้นสามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการเรียนด้วยตัวของตนเองโดยมีอุปกรณ์ต่างๆเป็นองค์ประกอบในการเรียน เช่น คอมพิวเตอร์ โดยผู้เรียนนั้นมีอิสระในการศึกษา โดยผู้เรียนนั้นเป็นผู้สร้างความรู้ไม่ใช่ครูเป็นผู้สร้างความรู้ให้แก่ผู้เรียนส่วนทฤษฏีการเรียนรู้ของ mayor จะมีการกำหนดเงื่อนไขในการทำกิจกกรม และผลที่ได้ก็ต้องอยู่ในเกณท์ที่กำหนด ผู่เรียนสามรถเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง

.การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Gagne
จะให้ความสำคัญในการจัดลำดับขั้นการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สิ่งเร้า สิ่งแวดล้อมภายนอกกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนว่ามีการตอบสนองอย่างไร เพื่อที่จะจัดลำดับขั้นของการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ถูกต้อง
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ ( Gagne )
การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )
การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง
ความแตกต่างระหว่างทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญาและทฤษฎีการเรียนรู้ตามทฤษฎีของ (Gagne)
ทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา ผู้เรียนนั้นสามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการเรียนด้วยตัวของตนเองโดยมีอุปกรณ์ต่างๆเป็นองค์ประกอบในการเรียน เช่น คอมพิวเตอร์ โดยผู้เรียนนั้นมีอิสระในการศึกษา โดยผู้เรียนนั้นเป็นผู้สร้างความรู้ไม่ใช่ครูเป็นผู้สร้างความรู้ให้แก่ผู้เรียนส่วนทฤษฏีการเรียนรู้ของ โดยจะให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ โดยมีอุปกรณ์ต่างๆ เป็นสิ่งเร้าในการเรียน

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ปรัชญาแนวพุทธ

ในการเรียนวิชาศึกษาศาสตร์นั้น ผู้เรียนคงต้องเรียนวิชาปรัชญาการศึกษากันทุกคน มากบ้าง น้อยบ้าง แต่เท่าที่ผ่านๆ มาปรัชญาการศึกษาที่เรียนกันนั้น ส่วนมากเป็นปรัชญาการศึกษาของประเทศตะวันตกทั้งสิ้นเช่น ปรัชญาการศึกษาตามแนวจิตนิยม (Idealism) ปรัชญาการศึกษาตามแนวสัจนิยม (Realism) ปรัชญาการศึกษาตามแนวพิสูจน์นิยม (Experimentalism) เป็นต้น
ส่วนปรัชญาการศึกษาตามแนวของลัทธิปรัชญาที่เป็นของไทยเราเอง หรือที่ตั้งอยู่บนรากฐานของปัญญาอันเป็นของสังคมของเราเอง ยังไม่ค่อยจะมี
สำหรับความรู้ หรือปรัชญา หรือปัญญาอันเป็นของสังคมไทยเราเองนั้น ก็ได้แก่ พุทธศาสนาหรือพุทธธรรมนั่นเอง ดังนั้นจึงเป็นการสมควรยิ่งที่จะได้พยายามสร้างปรัชญาการศึกษาตามแนวพุทธธรรม (Buddhistic Philosophy of Education) ขึ้นไว้บ้าง เพื่อว่าเมื่อได้ศึกษาปรัชญาการศึกษาของประเทศอื่นแล้ว ก็จะยังมีปรัชญาการศึกษา ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยของเราเอง ให้ไว้ศึกษาควบคู่กันไปบ้าง
การเสนอปรัชญาการศึกษานั้นในปัจจุบันนิยมเสนอกันสามวิธีคือ
1. วิธีปทัสถาน (Normative) อันได้แก่การเสนอความคิดใหม่ตามวิธีการที่มีอยู่เดิมแล้ว ไม่ต้องไปคิด วิธีการขึ้นใหม่อีก
2. วิธีคาดเก็ง (Speculative) อันได้แก่การเสนอแนะความคิดหรือคาดคะเนขึ้นไว้ เนื่องจากว่าผู้เสนอนั้นได้มีประสบการณ์อยู่มาเพียงพอจนอาจมีความคิดที่จะเสนอแนะได้
3. วิธีวิเคราะห์ (Analytical) อันได้แก่การเสนอเชิงวิเคราะห์เพื่อทำให้ความคิดบางประการได้กระจ่างแจ้งขึ้น
สำหรับการประยุกต์หรือสร้างปรัชญาการศึกษาตามแนวพุทธธรรม ณ ที่นี้จะได้ใช้วิธีปทัสถาน
2. พุทธธรรมบางประการที่นำมาใช้
พุทธธรรมบางประการที่นำมาใช้ หรือนำมาประยุกต์ให้เกิดเป็นปรัชญาการศึกษาตามแนวพุทธธรรมขึ้นนั้น มีดังต่อไปนี้
ขันธ์ 5 : รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (อันเป็นลักษณะของมนุษย์ทั่วๆ ไป)อกุศลมูล: โลภ โกรธ หลง (อันเป็นลักษณะของมุนษย์ทั่วๆ ไป)นิพพาน : ชีวิตที่ดีสูงสุด (Summum Bonum) การดับสิ้นแห่งความทุกข์ การดับสิ้นแห่งอกุศลมูล อันเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิตในที่สุดมรรคมีองค์: (หรือที่ย่อลงเป็น ไตรสิกขา 3 ) วิถีหรือแนวทางในการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การพ้นหรือดับสิ้นแห่งทุกข์
อริยสัจ 4 : ความจริงแห่งชีวิต อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคกิจในอริยสัจ 4 หรือ กิจญาณ : ได้แก่ สิ่งที่จะต้องกระทำหรือกิจที่จะต้องกระทำเกี่ยวกับอริยสัจ 4


3. แนวคิดบางประการในวิชาปรัชญาการศึกษาที่นำมาใช้ แนวคิดบางประการในวิชาปรัชญาการศึกษาที่นำมาใช้ หรือนำมาคิดในการประยุกต์พุทธรรมเพื่อให้เกิดเป็นปรัชญาการศึกษาตามแนวพุทธธรรมนั้น มีดังต่อไปนี้

การศึกษา คือการงอกงามหรือการพัฒนา หรือคือการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้แก่ผู้เรียน เพื่อว่าผู้เรียนจะได้เจริญงอกงามหรือพัฒนาขึ้นตามความมุ่งหมาย
บรูณาการ คือจุดหมายปลายทางของการศึกษา (บูรณาการหรือ integration) คือสภาพที่ปัญหาต่างๆ ในชีวิตได้แก้ตกไปจนหมดสิ้น หรือการที่ปัญหาต่างๆ ในชีวิตได้แก่ตกไปเกือบหมดสิ้น)
อันตรกิริยา (interaction) คือการปะทะระหว่างตัวเราและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการควบคุมอัตรกิริยา ให้อยู่ในวิถีทางที่ดีอยู่เสมอ
วิธีการคิดแบบแก้ปัญหา หรือวิธีการคิดสะท้อน เป็นวิธีการของการศึกษา (Reflective thinking is the method of education.)
การแก้ปัญหา (Problem-Solving) หรือการทดลอง คือวิธีการที่นำมาซึ่งความจริง หรือความรู้

4. ปรัชญาการศึกษาตามแนวพุทธธรรม คำอธิบายปรัชญาการศึกษาตามแนวพุทธธรรมนี้ มีอยู่ 4 หัวข้อได้แก่ ความหมายของคำว่า การศึกษา ความมุ่งหมายของการศึกษา แนวนโยบายพื้นฐานของการศึกษา และวิธีการของการศึกษา แต่จะขออธิบายเพียง ข้อที่ 1 คือ ความหมายของคำว่า “การศึกษา” เท่านั้น ส่วนข้ออื่นๆ อาจเพ่งพิจารณาเอาได้จากตารางคำอธิบาย 2 ตาราง ซึ่งอยู่ในหน้าถัดไป
(ยังมีค่อ) คลิก URL
http://www.uploadtoday.com/download/?341977&A=734430
[URL=http://www.uploadtoday.com/download/?341977&A=734430][IMG]http://www.uploadtoday.com/images/partner/download_file.jpeg[/IMG][/URL]

จิตสาธารณะ


แนวทางในการพัฒนาจิตสาธารณะ
มีนักการศึกษาหลาย ๆ ท่าน ได้พยายามหาวิธีการที่หลากหลายเพื่อใช้ในการพัฒนาจิตสาธารณะให้แก่เด็ก และเยาวชน โดยวิธีการหนึ่งที่สำคัญ คือ การพัฒนาพฤติกรรม ซึ่งการพัฒนาพฤติกรรมนั้น สามารถดำเนินการได้หลากหลายวิธี ตามความเชื่อพื้นฐานของแต่ละแนวคิด การนำหลักการแห่งพฤติกรรม (Behavior Principles) มาอธิบายพัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลได้ ซึ่ง คาลิช (ประทีป จีนงี่. 2540 : 9 ; อ้างอิงมาจาก Kalish. 1981) ได้ให้ความหมายของหลักการแห่งพฤติกรรมไว้ว่า เป็นหลักการที่ครอบคลุมทั้งแนวคิดของทฤษฎีการเรียนรู้ การวางเงื่อนไข และแนวคิดทางจิตวิทยาต่าง ๆ ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์เข้ามาประยุกต์ใช้ได้ ในการนำแนวคิดของการใช้หลักการแห่งพฤติกรรม มาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้น สามารถพิจารณาได้ 2 กรณี คือ
กรณที่ 1 กรณีที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ ผู้ทำหน้าที่พัฒนา สามารถพัฒนาพฤติกรรมที่พฤติกรรมของบุคคลนั้นได้โดยตรง โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขจัดการกับพฤติกรรมโดยตรง ด้วยการคุมสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้ได้
กรณีที่ 2 กรณีที่ไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ จึงไม่สามารถที่จะเปลี่ยนหรือพัฒนาที่พฤติกรรมโดยตรงได้ จึงต้องจัดกระทำโดยการเปลี่ยนที่ความรู้สึก (Feeling) ซึ่งส่งผลทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนได้ หรือจัดกระทำโดยการเปลี่ยนที่ความรู้คิด (Cognitive) ซึ่งส่งผลทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงทั้งนี้ เป็นเพราะตามหลักการแห่งพฤติกรรมเชื่อว่า การรู้คิด ความรู้สึก และพฤติกรรม จะมีผลซึ่งกันละกัน
ดังนั้น การพัฒนาพฤติกรรม อาจจัดกระทำได้ทั้งที่พฤติกรรมโดยตรง หรือจัดกระทำที่ความรู้คิด ความรู้สึก เพื่อให้พฤติกรรมเกิดการเปลี่ยนแปลงก็ได้ ดังแสดงในภาพประกอบ 1
2. เปลี่ยนที่ความรู้สึกแล้วส่งผลไปเปลี่ยนที่พฤติกรรม กรณีที่ไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้
1. เปลี่ยนที่พฤติกรรม
โดยตรงได้โดยใช้หลักการ
เรียนรู้วางเงื่อนไขกรณีที่
ควบคุมสภาพแวดล้อมได้
3. เปลี่ยนที่ความรู้คิด แล้วส่งผลไปเปลี่ยนที่พฤติกรรม กรณีที่ไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้
ในการพัฒนาพฤติกรรมมีแนวทางที่หลากหลาย แต่ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจิตสาธารณะให้แก่เด็กส่วนใหญ่นั้น มักเลือกใช้การพัฒนาที่กระบวนการทางปัญญาเพื่อให้ส่งผลต่อพฤติกรรม โดยในการพัฒนาที่กระบวนการทางปัญญานั้น มีความเชื้อพื้นฐานที่ว่ากระบวนการปัญญามีผลต่อพฤติกรรม และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถกระทำได้โดยการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางปัญญา ซึ่ง แคซดิน (สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. 2543 : 308 ; อ้างอิงจาก H. Kazdin : 1978) ได้เสนอหลักการพื้นฐานของแนวคิดการปรับพฤติกรรมทางปัญญาไว้ว่า เป็นกระบวนที่เปลี่ยนความคิด การตีความ การตั้งข้อสันนิษฐาน ให้ส่งผลไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมภายนอก โดยนักปรับพฤติกรรมทางปัญญามีความเชื่อดังนี้

1. กระบวนการทางปัญญานั้นมีผลต่อพฤติกรรม
2. กระบวนการทางปัญญาสามารถจัดให้มีขึ้นและเปลี่ยนแปลงได้
3. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป อาจจะเป็นผลเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางปัญญา

ดังนั้น จุดมุ่งหมายของนักปรับพฤติกรรมทางปัญญาจึงมุ่งที่การเปลี่ยนแปลงทางปัญญาเพื่อส่งผลให้พฤติกรรมภายนอกเปลี่ยนแปลง (สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. 2543 : 308 ; อ้างอิงจากMahoney.1974) ทั้งนี้เพราะ กระบวนการทางปัญญาและพฤติกรรมมีความสัมพันธ์กัน โดยคาลิช(Kalish. 1981) ได้เสนอความสัมพันธ์ของสิ่งเร้า กระบวนการทางปัญญา พฤติกรรมและผลกรรม ว่ามีลักษณะแบบปฏิสัมพันธ์กัน (Interaction) กล่าวคือ บุคคลแสดงพฤติกรรมภายนอกด้วยการชี้แนะ (Prompting) จากกระบวนการทางปัญญา และในขณะเดียวกันพฤติกรรมภายนอกก็มีอิทธิพลต่อกระบวนการทางปัญญา ดังแสดงให้เห็นถึงภาพสรุปความสัมพันธ์ของสิ่งเร้า กระบวนการทางปัญญา พฤติกรรมและผลกรรม ดังภาพประกอบ 2
สิ่งเร้าที่เข้ามากระทบ
กระบวนการทางปัญญา เช่น ความคิด ความรู้สึก
พฤติกรรมที่แสดงออก
ผลกรรม
ภาพประกอบ 2 ความสัมพันธ์ในลักษณะ Interaction ที่มา : ประทีป จินงี่. (2540). การวิเคราะห์พฤติกรรมและการปรับพฤติกรรม. หน้า 133

จิตสาธารณะ คืออะไร

ความหมายของจิตสาธารณะ
มีการกำหนดลักษณะของคำว่า “จิตสาธารณะ” ไว้อย่างหลากหลาย ทั้งคำที่ใช้ในภาษาไทย เช่น จิตสาธารณะ สำนึกสาธารณะ และจิตสำนึกสาธารณะ เป็นต้น และคำที่ใช้ในภาษาอังกฤษ เช่น Public Consciousness หรือ Public Mind โดยสามารถสรุปความหมายของจิตสาธารณะได้ว่า หมายถึง คุณลักษณะทางจิตใจของบุคคลเกี่ยวกับการมองเห็นคุณค่า หรือการให้คุณค่าแก่การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นสิ่งสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดผู้ผู้หนึ่งเป็นเจ้าของ หรือเป็นสิ่งที่คนในสังคมเป็นเจ้าของร่วมกัน เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากความรู้สึกนึกคิด หรือการกระทำที่แสดงออกมา โดยพิจารณาจากความรู้ความเข้าใจหรือพฤติกรรมที่แสดงออกใน 3 องค์ประกอบ ตามนิยามความหมายจิตสาธารณะของชาย โพธิสิตา (2540 : 14 – 15) และลัดดาวัลย์ เกษมเนตร (2546 : 2-3) ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 คือ การหลีกเลี่ยงการใช้หรือการกระทำที่จะทำให้เกิดความชำรุดเสียหายต่อส่วนรวมที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม กำหนดตัวชี้วัดจาก
1. การดูแลรักษาของส่วนรวม ใช้ของส่วนรวมแล้วเก็บเข้าที่
2. ลักษณะการใช้ของส่วนรวม รู้จักใช้ของส่วนรวมอย่างประหยัดและทนุถนอม
องค์ประกอบที่ 2 คือ การถือเป็นหน้าที่ที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาของส่วนรวมในวิสัยที่ตนสามารถทำได้ กำหนดตัวชี้วัดจาก
1. การทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเพื่อส่วนรวม
2. การรับอาสาที่จะทำบางอย่างเพื่อส่วนรวม
องค์ประกอบที่ 3 คือ การเคารพสิทธิในการใช้ของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม กำหนดตัวชี้วัดจาก
1. การไม่ยึดครองของส่วนรวมนั้นมาเป็นของตนเอง
2. การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้สามารถใช้ของส่วนรวมนั้น