วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

จิตสาธารณะ


แนวทางในการพัฒนาจิตสาธารณะ
มีนักการศึกษาหลาย ๆ ท่าน ได้พยายามหาวิธีการที่หลากหลายเพื่อใช้ในการพัฒนาจิตสาธารณะให้แก่เด็ก และเยาวชน โดยวิธีการหนึ่งที่สำคัญ คือ การพัฒนาพฤติกรรม ซึ่งการพัฒนาพฤติกรรมนั้น สามารถดำเนินการได้หลากหลายวิธี ตามความเชื่อพื้นฐานของแต่ละแนวคิด การนำหลักการแห่งพฤติกรรม (Behavior Principles) มาอธิบายพัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลได้ ซึ่ง คาลิช (ประทีป จีนงี่. 2540 : 9 ; อ้างอิงมาจาก Kalish. 1981) ได้ให้ความหมายของหลักการแห่งพฤติกรรมไว้ว่า เป็นหลักการที่ครอบคลุมทั้งแนวคิดของทฤษฎีการเรียนรู้ การวางเงื่อนไข และแนวคิดทางจิตวิทยาต่าง ๆ ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์เข้ามาประยุกต์ใช้ได้ ในการนำแนวคิดของการใช้หลักการแห่งพฤติกรรม มาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้น สามารถพิจารณาได้ 2 กรณี คือ
กรณที่ 1 กรณีที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ ผู้ทำหน้าที่พัฒนา สามารถพัฒนาพฤติกรรมที่พฤติกรรมของบุคคลนั้นได้โดยตรง โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขจัดการกับพฤติกรรมโดยตรง ด้วยการคุมสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้ได้
กรณีที่ 2 กรณีที่ไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ จึงไม่สามารถที่จะเปลี่ยนหรือพัฒนาที่พฤติกรรมโดยตรงได้ จึงต้องจัดกระทำโดยการเปลี่ยนที่ความรู้สึก (Feeling) ซึ่งส่งผลทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนได้ หรือจัดกระทำโดยการเปลี่ยนที่ความรู้คิด (Cognitive) ซึ่งส่งผลทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงทั้งนี้ เป็นเพราะตามหลักการแห่งพฤติกรรมเชื่อว่า การรู้คิด ความรู้สึก และพฤติกรรม จะมีผลซึ่งกันละกัน
ดังนั้น การพัฒนาพฤติกรรม อาจจัดกระทำได้ทั้งที่พฤติกรรมโดยตรง หรือจัดกระทำที่ความรู้คิด ความรู้สึก เพื่อให้พฤติกรรมเกิดการเปลี่ยนแปลงก็ได้ ดังแสดงในภาพประกอบ 1
2. เปลี่ยนที่ความรู้สึกแล้วส่งผลไปเปลี่ยนที่พฤติกรรม กรณีที่ไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้
1. เปลี่ยนที่พฤติกรรม
โดยตรงได้โดยใช้หลักการ
เรียนรู้วางเงื่อนไขกรณีที่
ควบคุมสภาพแวดล้อมได้
3. เปลี่ยนที่ความรู้คิด แล้วส่งผลไปเปลี่ยนที่พฤติกรรม กรณีที่ไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้
ในการพัฒนาพฤติกรรมมีแนวทางที่หลากหลาย แต่ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจิตสาธารณะให้แก่เด็กส่วนใหญ่นั้น มักเลือกใช้การพัฒนาที่กระบวนการทางปัญญาเพื่อให้ส่งผลต่อพฤติกรรม โดยในการพัฒนาที่กระบวนการทางปัญญานั้น มีความเชื้อพื้นฐานที่ว่ากระบวนการปัญญามีผลต่อพฤติกรรม และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถกระทำได้โดยการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางปัญญา ซึ่ง แคซดิน (สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. 2543 : 308 ; อ้างอิงจาก H. Kazdin : 1978) ได้เสนอหลักการพื้นฐานของแนวคิดการปรับพฤติกรรมทางปัญญาไว้ว่า เป็นกระบวนที่เปลี่ยนความคิด การตีความ การตั้งข้อสันนิษฐาน ให้ส่งผลไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมภายนอก โดยนักปรับพฤติกรรมทางปัญญามีความเชื่อดังนี้

1. กระบวนการทางปัญญานั้นมีผลต่อพฤติกรรม
2. กระบวนการทางปัญญาสามารถจัดให้มีขึ้นและเปลี่ยนแปลงได้
3. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป อาจจะเป็นผลเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางปัญญา

ดังนั้น จุดมุ่งหมายของนักปรับพฤติกรรมทางปัญญาจึงมุ่งที่การเปลี่ยนแปลงทางปัญญาเพื่อส่งผลให้พฤติกรรมภายนอกเปลี่ยนแปลง (สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. 2543 : 308 ; อ้างอิงจากMahoney.1974) ทั้งนี้เพราะ กระบวนการทางปัญญาและพฤติกรรมมีความสัมพันธ์กัน โดยคาลิช(Kalish. 1981) ได้เสนอความสัมพันธ์ของสิ่งเร้า กระบวนการทางปัญญา พฤติกรรมและผลกรรม ว่ามีลักษณะแบบปฏิสัมพันธ์กัน (Interaction) กล่าวคือ บุคคลแสดงพฤติกรรมภายนอกด้วยการชี้แนะ (Prompting) จากกระบวนการทางปัญญา และในขณะเดียวกันพฤติกรรมภายนอกก็มีอิทธิพลต่อกระบวนการทางปัญญา ดังแสดงให้เห็นถึงภาพสรุปความสัมพันธ์ของสิ่งเร้า กระบวนการทางปัญญา พฤติกรรมและผลกรรม ดังภาพประกอบ 2
สิ่งเร้าที่เข้ามากระทบ
กระบวนการทางปัญญา เช่น ความคิด ความรู้สึก
พฤติกรรมที่แสดงออก
ผลกรรม
ภาพประกอบ 2 ความสัมพันธ์ในลักษณะ Interaction ที่มา : ประทีป จินงี่. (2540). การวิเคราะห์พฤติกรรมและการปรับพฤติกรรม. หน้า 133

2 ความคิดเห็น: