วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปรัชญาการศึกษา

ปรัชญาการศึกษาและแนวคิด
Essentialism
มาจากปรัชญาพื้นฐาน 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายจิตนิยมมีความเชื่อว่าจิตเป็นส่วนสำคัญที่สุดในชีวิตคนและเห็นความจริงได้ก็ด้วยความคิด
มุ่งพัฒนาความสามารถที่มนุษย์มีอยู่แล้ว การศึกษาควรมุ่งที่จะถ่ายทอดความรู้ที่สั่งสมกันมา
ถายทอดมรดกทางวัฒนธรรม เพื่อสังคมมีความเฉลียวฉลาด มุ่งพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์
มีบทบาทในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสังคม
ยึดเนื้อหาที่เป็นวิชาพื้นฐาน เป็นแบบแผนเดียวกันทั่วประเทศ โดยจัดเรียงลำดับตามความยากง่าย
ขึ้นอยู่กับครูเป็นสำคัญ ครูเป็นผู้อธิบายให้นักเรียนเข้าใจ โดยเน้นการสอนแบบบรรยายเป็นหลัก
เป็นบุคคลที่มีความสำคัญ จะทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ครูเป็นผู้กำหนดกิจกรรมในห้องเรียน
เป็นผู้สืบทอดค่านิยม และถ่ายทอดไปยังคนรุ่นหลังและเชื่อฟังคำสั่งสอนของครู
นรันตรนิยม
Perennialism
เน้นในเรื่องเหตุผล และสติปัญญา เป็นการนำเอาแบบอย่างที่ดีในอดีตมาใช้ในปัจจุบัน
สิ่งสำคัญที่สุดของธรรมชาติมนุษย์ คือ ความสามารถในการใช้เหตุผล
สร้างคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์ เพราะมนุษย์มีพลังธรรมชาติอยู่ในตัวคือสติปัญญาเพื่อให้มนุษย์เป็นคนดีตลอดไปไม่เปลี่ยนแปลง
เน้นที่ตัวบุคคลเป็นหลักใหญ่ เพราะพัฒนาในตัวบุคคลแล้วก็สามารถทำให้สังคมนั้นดีขึ้นด้วย
เน้นวิชาทางศิลปะศาสตร์และศิลปะการคำนวณ
ใช้วิธีท่องจำและฝึกให้ใช้ความคิด หาเหตุผลโดยอาศัยหลักวิชาการ
เป็นผู้มีเหตุผลและมีชีวิต มีวิญญาณเป็นผู้ใฝ่รู้อยู่เสมอ เป็นผู้ดูแลรักษาระเบียบวินัย
มุ่งพัฒนาเป็นรายบุคคลฝึกฝนผู้เรียนทุกคนมีโอกาสเรียนเท่าเทียมกัน ฝึกฝนบ่อย ๆ หรือทำซ้ำ ๆ
พิพัฒนนิยม
Progressivism
การแสวงหาความรู้ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ มีการปรับปรุงการศึกษาอยู่เสมอ
การศึกษาคือชีวิต เรียนรู้ในสิ่งที่เหมาะแก่วัยของเขา และหาทางปรับตัวให้เข้ากับภาวะที่เป็นจริงในปัจจุบัน
ไม่มีจุดมุ่งหมายที่ตายตัว เพราะชีวิตเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก
จัดประสบการณ์ให้เหมาะกับสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน
เรียนจากประสบการณ์ในชีวิตจริง เน้นวิชาเสริมสร้างประสบการณ์ทางสังคม ชีวิตประจำวันวัน
ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนมีบทบาทมากที่สุด ใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์
ไม่เป็นผู้ออกคำสั่ง ทำหน้าที่ในการแนะแนวทาง จัดประสบการณ์ที่เหมาะสมแก่ผู้เรียน
ให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนมาก ผู้เรียนจะได้ประสบการณ์ด้วยการลงมือกระทำด้วยตนเอง
ปฏิรูปนิยม
Reconstructionism
เน้นความสำคัญของการพัฒนาผู้เรียน เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาให้สังคมเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
เน้นให้ผู้เรียนเข้าใจและมุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมอุดมคติขึ้นมาให้เหมาะสมกับพื้นฐานทางวัฒนธรรมและทางเศรษฐกิจ
สร้างสรรค์ระบบสังคมขึ้นมาใหม่และส่งเสริมการพัฒนาสังคม
ร่วมแก้ปัญหาของสังคมและสร้างสังคมใหม่ที่เหมาะสมดีงาม
เน้นวิชาสังคมศึกษา การดำรงชีวิตในสังคม สภาพเศรษฐกิจและการเมือง
ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองและลงมือกระทำเอง
รวบรวม สรุป วิเคราะห์ปัญหาของสังคมแล้วเสนอแนวทางให้ผู้เรียนแก้ปัญหาของสังคม
มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาทางสังคมและความยุติธรรม เรียนรู้เทคนิค วิธีการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาทางสังคม

1 ความคิดเห็น: